แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย สัญญาณเตือนหลอดเลือดหัวใจตีบ

คนเราเมื่อถึงคราวที่จะเป็นโรคร้ายจะไปบนบานศาลกล่าวที่ไหนก็คงไม่ทัน ทางเดียวที่พอจะทำได้คือการเริ่มดูแลตัวเองและป้องกันตัวเองให้ห่างไกลโรคร้ายมากที่สุด ที่สำคัญจะต้องหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพราะหากยิ่งพบความผิดปกติของร่างกายเร็วเท่าไหร่ หนทางในการรักษาให้หายเป็นปกติก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

หลอดเลือดหัวใจตีบ อันตรายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้คนเราเริ่มมีพฤติกรรมที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป นั่นเลยกลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเริ่มเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา จนทำให้เป็นบ่อเกิดของโรคร้ายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘โรคหลอดเลือดหัวใจ’ ที่หลายคนกลับมองข้าม แต่คุณรู้หรือไม่ว่าโรคนี้เป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงอันดับต้น ๆ ที่คร่าชีวิตคนไทยมานักต่อนักแล้ว

ซึ่งจากการรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO พบว่าในทุก ๆ ปีจะมีประชากรประมาณ 17 ล้านคนเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว และมีแนวโน้มว่าตัวเลขจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 23 ล้านคนภายในปี 2573 เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะต้องให้ความใส่ใจและมองว่าโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามจริง ๆ

หลอดเลือดหัวใจตีบ อันตรายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด
หลอดเลือดหัวใจตีบ อันตรายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดขึ้นมาจากผนังหลอดเลือดหัวใจที่เรียกว่า Coronary เกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นจากการอุดตันของไขมันและเนื้อเยื่อ จนก่อให้เกิดหลอดเลือดตีบ และการไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจลดน้อยลง หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ จนอาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

โดยภาวะดังกล่าวจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บหน้าอกแบบหนัก ๆ ที่สำคัญหากปล่อยเอาไว้แล้วไขมันไปสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดชั้นใน จนทำให้เกิดการแตกตัวออกมา ก็จะส่งผลให้เกิดการอุดตันแบบฉับพลัน และอาจนำไปสู่ ‘ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน’ และเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้นั่นเอง โดยสัญญาณเตือนที่เห็นได้ชัด ว่าคุณเริ่มมีอาการภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ มีดังนี้

  • เจ็บหน้าอกแบบหนัก ๆ ไม่เคยเป็นมาก่อน เหมือนถูกกดแรง ๆ และเจ็บร้าวไปจนถึงบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขนทั้งสองข้าง
  • เหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • หายใจหอบ หายใจเข้าออกได้ไม่เต็มที่ และไม่สามารถนอบราบลงกับพื้นได้
  • หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เหมือนจะเป็นลม ที่เกิดจากความดันโลหิตต่ำแบบเฉียบพลัน
  • หัวใจเต้นผิดจปกติ เช่น ใจสั่น ใจเต้นรัว เป็นต้น
  • ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจหมดสติหรือมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายได้
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร?
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร?

แล้วอะไรคือความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ?

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มักเกิดขึ้นมาจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ และพันธุกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มผู้สูงอายุเพศชาย แต่ทั้งนี้เพศหญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้วก็มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้เช่นกัน (ความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นหากคนในครอบครัวมีประวัติมาก่อน)

ถึงอย่างไรก็ไม่เพียงแต่ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เท่านั้นที่เสี่ยง เพราะปัจจัยที่สามารถควบคุมได้อย่างพฤติกรรมของตัวบุคคลเอง ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกันหากไม่ได้ดูแลและระวังตัวเองอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง มีดังนี้

  • ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ไม่รับประทานผัก ผลไม้
  • การสูบบุหรี่
  • ความเครียดสะสม

ซึ่งปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาเราสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาส่งผลเสียต่อสุขภาพ จนกลายเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้นั่นเอง และที่สำคัญควรจะเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ซึ่งไม่เพียงแค่ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจตีบเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายอื่น ๆ ที่ไม่แสดงอาการอีกด้วย เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องให้ความใส่ใจและไว้วางใจไม่ได้ และอีกทางเลือกสำคัญอย่างการทำประกันสุขภาพ ก็นับเป็นทางป้องกันที่ดีเหมือนกัน อย่างน้อย ๆ หากวันไหนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา ประกันนี่แหละที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและให้การรักษาพยาบาลของคุณเป็นไปตามขั้นตอนมากขึ้นได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *